หลายคนมีความพยายามที่จะแบ่งเงินส่วนหนึ่งจากการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เพื่อเก็บออมไว้ใช้จ่ายในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการออมเพื่อใช้ในการท่องเที่ยว การออมเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลในยามฉุกเฉิน การออมเพื่อซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งแต่ละวัตถุประสงค์ก็มีแผนการออมที่แตกต่างกันออกไปตามจำนวนเงินที่คุณต้องการ
สำหรับบทความนี้จะนำเสนอวิธีการออมเงินที่ไม่ว่าใครก็สามารถทำตามได้ เพียงนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับการเงินของคุณ และใช้ความมีวินัยในการออมเงินของตนเอง เพื่อให้สามารถออมเงินได้ตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้
สร้างวินัยการออมให้กับตนเอง
สำหรับคนที่ออมเงินไม่อยู่มักเกิดจากการวางแผนการออมที่ไม่มีเป้าหมายชัดเจนหรือขาดวินัยทางการออม เมื่อแบ่งเก็บไปแล้วก็ยังนำเงินส่วนนั้นออกมาใช้จ่าย การสร้างวินัยการออมเงินจึงเป็นเรื่องที่ควรมีและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อทำให้ยอดเงินออมของคุณบรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ โดยสามารถทำได้ดังนี้
ตั้งเป้าหมายการออมให้ชัดเจน
เริ่มต้นวางแผนการออมเงินของคุณก่อน ว่าเป้าหมายของการออมคืออะไร ซึ่งจะช่วยกำหนดระยะเวลาการออมให้กับคุณได้
ออมระยะสั้น (ระยะเวลา 0 – 2 ปี) สำหรับเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ ซื้อของที่ราคาแพง หรือเพื่อเป็นเงินสำรองฉุกเฉิน
ออมระยะกลาง (ระยะเวลา 2 – 10 ปี) สำหรับเป็นเงินต้นในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ ดาวน์รถ หรือเพื่อใช้ในการเริ่มต้นธุรกิจ
ออมระยะยาว (ระยะเวลามากกว่า 10 ปี) เพื่อเป็นเงินในอนาคตหลังเกษียณ หรือเพื่อการศึกษาของลูกในอนาคต
นอกจากนี้การตั้งเป้าหมายการออมยังช่วยให้คุณได้ทราบถึงยอดเงินที่ต้องแบ่งเก็บในแต่ละเดือน ว่าควรจะแบ่งเก็บในจำนวนเงินเท่าไหร่ ถึงจะทำให้คุณได้ยอดเงินตามแผนการออมที่วางเอาไว้
ตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
การออมเงินในระยะแรกหลายคนมักจะพบปัญหาของการออมไม่อยู่ ด้วยการนำเงินออมออกมาใช้ทีละนิดจนหมดไปในที่สุด เนื่องจากยังขาดวินัยในการเก็บออมที่หนักแน่น ดังนั้น จึงควรเริ่มสร้างวินัยทางการออมที่มีประสิทธิภาพก่อนด้วยการทำอย่างเคร่งครัดและทำอย่างต่อเนื่องเช่น เมื่อคุณตั้งใจจะออมเงินแต่ละเดือนจำนวน 3,000 บาทแล้ว ก็ควรทำเป็นประจำทุกเดือน เพื่อให้เกิดความเคยชินของการออมขึ้น และเหนือสิ่งอื่นใด คุณต้องหักห้ามใจการนำเงินออมออกมาใช้ถ้าไม่มีเหตุจำเป็น
นอกจากนี้ยังมีวิธีที่ช่วยให้คุณออมเงินได้ง่ายๆ นั่นคือ การเปิดบัญชีเงินฝากประจำ เพราะคุณจะไม่สามารถถอนเงินออกมาใช้ก่อนได้ อีกทั้ง ยังมีดอกเบี้ยเงินฝากที่เปรียบเสมือนรางวัลในการออมเงินอย่างมีวินัยให้อีกด้วย และคุณก็อาจตัดเงินจากบัญชีประจำวันมาออมไว้โดยอัตโนมัติในแต่ละเดือนเพื่อให้คุณขยับเข้าใกล้เป้าหมายได้ในทุกๆ เดือน
ออมอย่างไรให้ยั่งยืน
ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
อย่าเพิ่งถอดใจถ้าคุณจะต้องทำรายรับรายจ่ายในแต่ละวันของคุณ เพราะความยุ่งยากที่ต้องมาคอยจดค่าใช้จ่ายลงในสมุดอยู่ตลอดเวลา แต่การทำบัญชีรายรับรายจ่ายนั้นสำคัญต่อการออมอย่างแน่นอน และในปัจจุบันมีแอปพลิเคชันที่ช่วยในการทำรายรับรายจ่ายที่คุณไม่ต้องปวดหัวไปกับการจดบันทึกลงสมุด แถมยังแสดงสถิติและค่าเฉลี่ยการใช้จ่ายของคุณได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
บัญชีรายรับ-รายจ่ายใช้ดูว่าพฤติกรรมการใช้เงินในชีวิตประจำวันของคุณว่าเป็นอย่างไร และผลลัพธ์ของการทำบัญชีนี้จะบอกความสามารถในการออมของคุณ ว่าเงินที่ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันนั้นสมเหตุสมผลกับเงินที่แบ่งออมไปหรือไม่ ถ้าทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายแล้วพบว่าเงินที่ใช้ในชีวิตประจำวันไม่พอใช้ คุณอาจจะต้องลดปริมาณของเงินที่แบ่งเก็บลง หรืออาจจะต้องปรับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันลงเพื่อเงินเก็บในจำนวนที่ต้องการ
แบ่งเก็บอย่างน้อย 10 – 20% จากรายได้
หลังจากได้เงินเดือนหรือมีรายได้จากช่องทางอื่นเข้ามา สิ่งแรกที่ควรทำคือ การหักเงินไปเก็บ 10 – 20% ของรายได้ในช่วงเดือนนั้นทันที เนื่องจากการรอเก็บจากเงินที่เหลืออยู่ในภายหลังอาจจะไม่เหลือเงินเก็บเลยก็ได้ โดยวิธีการเก็บเงินไม่ควรเก็บไว้กับบัญชีปกติที่คุณใช้อยู่ คุณควรมีบัญชีเงินฝากแยกเก็บโดยเฉพาะ (ซึ่งควรเป็นบัญชีเงินฝากประจำ) จะเป็นการช่วยหักห้ามใจในการใช้เงินในส่วนที่ต้องการเก็บไปจนหมด
เช่น ถ้าคุณมีรายรับต่อเดือน 30,000 บาท ให้หักไปเข้าบัญชีเงินออม 20% ซึ่งอยู่ที่ 6,000 บาท คุณจะเหลือเงิน 24,000 บาทในการใช้สอยในเดือนนั้นๆ
สำหรับการออมเงินฝากเป็นประจำทุกเดือน เดือนละ 6,000 บาทนี้ เมื่อครบ 1 ปีคุณจะไม่ได้รับเพียงแค่ 72,000 บาทเท่านั้น แต่จะมีดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มเข้ามาด้วย ซึ่งจำนวนดอกเบี้ยนั้นจะเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด
ทำงบรายจ่ายประจำเดือน
นอกจากการเก็บออมทั่วไปแล้ว หากจะเก็บออมให้ยั่งยืนได้จริง เราจะต้องควบคุมรายจ่ายด้วย ซึ่งทำได้โดยการตั้งงบประมาณค่าใช้จ่ายที่เราต้องใช้ในแต่ละเดือน
วิธีการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำเดือนนั้น จะต่อยอดจากการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพราะบัญชีรายรับ-รายจ่ายจะช่วยให้คุณรู้ว่าในแต่ละเดือนคุณมีรายรับเท่าไรและมีรายจ่ายทางใดบ้าง และแน่นอนว่า ให้คุณตั้งงบประมาณการออมไว้ก่อนรายจ่ายอื่นๆ ตามเป้าหมายหรือเพียง 10 – 20% ก็ได้ จากนั้นเงินที่เหลือจึงค่อยแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ
ยกตัวอย่างเช่น รายได้ 20,000 บาท แบ่งเงินออม 20% หรือ 4,000 บาท เหลือ 16,000 บาท จึงค่อยแบ่งเป็นค่าเช่าบ้าน 5,000 บาท ค่าอาหาร 5,000 บาท ค่าเดินทาง 1,500 บาท ค่าโทรศัพท์ 500 บาท และอื่นๆ อีก 4,000 บาท
สรุป
สำหรับคนที่ออมเงินไม่อยู่หรือใครที่กำลังมองหาวิธีการออมเงินอยู่ มาเริ่มได้ด้วยการสร้างวินัยการออมให้กับตนเอง ด้วยการตั้งเป้าหมายการออมและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้คุณเกิดความเคยชินไปกับการออมเงินด้วยตนเอง และออมให้ยั่งยืนด้วยการแบ่งออมก่อนใช้และควบคุมรายจ่ายด้วยการตั้งงบประมาณรายเดือน คุณก็สามารถบรรลุเป้าหมายการออมได้ และสำหรับคนที่มีเป้าหมายออมเพื่อบ้าน ก็สามารถปรึกษาวิธีการเก็บเงินซื้อ/สร้างบ้านกับโรงเรียนการเงินของ ธอส. ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้คำแนะนำคุณในเรื่องนี้โดยเฉพาะได้
ขอขอบคุณ : https://blog.ghbank.co.th/how-to-save-money/
This piece of writing is actually a fastidious one it helps new the web viewers, who are wishing for blogging. Margaretha Angie Chesney
Thanks for your feedback.
I like it when people get together and share ideas. Great blog, keep it up. Shoshanna Stan Keithley
Yes that is great way for your save for at this covid moment
Thanks for your feedback so I will improve this website next time.
I am genuinely glad to glance at this webpage posts which includes plenty of valuable data, thanks for providing these information. Davita Marlon Karie
I conceive this internet site holdss very fantastic indited articles posts. Esther Eddie Wardieu
Save for you kids too mom and thanks for your feedback.
Just wanna input on few general things, The website design and style is perfect, the subject material is very good : D. Zita Sanderson Thurlow
thank you so much for your feedback
Hi, its good post regarding media print, we all understand media is a enormous source of facts. Corry Richart Zoltai
Thanks for your feedback.
Asking questions are genuinely nice thing if you are not understanding something entirely, except this article offers nice understanding even. Magdalene Gherardo Fran
Wonderful article! We will be linking to this particularly great content on our site. Keep up the great writing. Vale Claudio Lubeck
It is not my first time to pay a quick visit this web page, i am visiting this site dailly and take good information from here every day. Ivonne Murvyn Quenby
Thank you for your enjoy this website so I will improve this website better than this.
This is my first time go to see at here and i am actually impressed to read all at alone place. Lelah Hewie Birch
Thank you for you feedback